วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เทคนิคการทำstop motion ด้วย iPhone




ที่มา : https://www.youtube.com

ทำ VDO Stop Motion ภายใน 1 นาที ด้วย Sony Vegas




*** ภาพที่ถ่ายมาเพื่อทำ Stop Motion
     แนะนำให้ถ่ายด้วย mode manual ทั้งหมดเลย
      และ focus ก็ขอให้เป็นแบบ manualด้วยจะยิ่งดี ***



ที่มา : https://www.youtube.com

ประวัติความเป็นมาของstop motion

Stop-motion เริ่มมีมาตั้งแต่ช่วงปลายปี ค.ศ. 1800 ถูกสร้างโดยใส่การเคลื่อนไหวเข้าไปในวัตถุที่เคลื่อนไหวไม่ได้ พวกเราลองมาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของ Stop-motion กันเถอะค่ะ

Taller de Iluminación

ในสมัยก่อน การทำ stop-motion ส่วนมากจะทำกับวัตถุที่เคลื่อนไหวเองไม่ได้ ต้องทำการถ่ายรูปแล้วก็ขยับวัตถุทีละครั้งแล้วก็ถ่ายรูปซ้ำไปซ้ำมา พอได้ภาพจำนวนหนึ่ง ก็จะนำมาเรียงต่อกันเพื่อทำเป็นหนัง stop-motion เรื่องสั้นเรื่องแรก คือ The Humpty Dumpty Circus สร้างโดย Albert Smith กับ Stuart Blackton ในปี 1899

The Humpty Dumpty Circus


Emile Cohl
Emile Cohl นักสร้างการตูนและผู้สร้างอนิเมชั่นชาวฝรั่งเศส เป็นคนนำ stop-motion เข้ามาสู่อเมริกา เขาใช้ ภาพวาด หุ่นจำลอง และอื่นๆที่เคลื่อนไหวไม่ได้ เท่าที่เขาจะหาได้ สำหรับทำ stop-motion แล้วหนัง stop-motion เรื่องแรกของเขา ชื่อว่า Fantasmagorie เขาสร้างมันเสร็จในปี 1908 ใช้ภาพวาดทั้งหมด 700 ภาพ แล้วถ่ายรูปขึ้นมาเพื่อนำมาทำเป็นอนิเมชั่น


Emile Cohl


Willis O’Brien
Willis O’Brien เป็นผู้สร้างเทคนิคพิเศษให้กับวงการภาพยนตร์ ภาพยนตร์เรื่องแรกที่เขาร่วมสร้างคือ The Lost World ในปี 1925 ในภาพยนตร์มีบางช่วงที่เป็น stop-motion ซึ่งเขาเป็นคนทำมัน จากผลงานนี้ทำให้เขาได้ร่วมงานกับทีมสร้าง King Kong

Willis O’Brien



stop motion คืออะไร

การถ่ายสต็อปโมชัน (stop motion) เป็นแอนิเมชันที่ผู้ทำแอนิเมชันต้องสร้างส่วนประกอบต่าง ๆ ของภาพขึ้นด้วยวิธีอื่น นอกเหนือจากการวาดบนแผ่นกระดาษ หรือแผ่นเซล และยังต้องยอมเมื่อยมือ ขยับรูปร่างท่าทางของส่วนประกอบเหล่านั้นทีละนิด ๆ แล้วใช้กล้องถ่ายไว้ทีละเฟรม ๆ

เทคนิค
การถ่ายสต็อปโมชันมีเทคนิคทำได้หลากหลาย เช่น

-เคลย์แอนิเมชัน (Clay animation เรียกย่อ ๆ ว่า เคลย์เมชัน / claymation)
คือแอนิเมชันที่ใช้หุ่นซึ่งทำจากดินเหนียว ขี้ผึ้ง หรือวัสดุใกล้เคียง โดยใส่โครงลวดไว้ข้างในเพื่อให้ดัดท่าทางได้

-คัตเอาต์แอนิเมชัน (Cutout animation)
สมัยก่อนแอนิเมชันแบบนี้ทำโดยใช้วัสดุ 2 มิติ (เช่น กระดาษ, ผ้า) ตัดเป็นรูปต่างๆ และนำมาขยับเพื่อถ่ายเก็บไว้ทีละเฟรม แต่ปัจจุบันใช้วิธีวาดหรือสแกนภาพเข้าไปขยับในคอมพิวเตอร์ได้เลย

-กราฟิกแอนิเมชัน (Graphic animation)
เป็นอีกเทคนิคที่น่าสนใจไม่เบา เกิดจากการนำกล้องมาถ่ายภาพนิ่งต่าง ๆ ที่เราเลือกไว้ (จะเป็นภาพจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ก็ได้) ทีละภาพ ทีละเฟรม แล้วนำมาตัดต่อเข้าด้วยกันเหมือนเทคนิคคอลลาจ (collage – ปะติด) โดยอาจใช้เทคนิคแแอนิเมชันแบบอื่นมาประกอบด้วยก็ได้

-โมเดลแอนิเมชัน (Model animation)
คือการทำตัวละครโมเดลขึ้นมาขยับ แล้วซ้อนภาพเข้ากับฉากที่มีคนแสดงจริงและฉากหลังเหมือนจริง

-แอนิเมชันที่เล่นกับวัตถุอื่นๆ (Object animation)
ไม่ว่าจะเป็นของเล่น หุ่น ตุ๊กตา ตัวต่อเลโก้ ฯลฯ อะไรก็ตามที่ไม่ใช่วัสดุซึ่งดัดแปลงรูปร่างหน้าตาได้แบบดินเหนียว

-พิกซิลเลชัน (Pixilation)

เป็นสต็อปโมชันที่ใช้คนจริง ๆ มาขยับท่าทางทีละนิดแล้วถ่ายไว้ทีละเฟรม เทคนิคนี้เหมาะมากถ้าเราทำแอนิเมชันที่มีหุ่นแสดงร่วมกับคน และอยากให้ทั้ง หุ่นทั้งคนดูเคลื่อนไหวคล้ายคลึงกัน หรือที่อยากได้อารมณ์กระตุกๆ


ที่มา : https://th.wikipedia.org

สื่อมีบทบาทในสังคมอย่างไรบ้าง

          


          “สื่อ ถือเป็นกระจกสะท้อนสภาพของสังคม เปรียบเสมือนเครื่องมือที่มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างค่านิยม เจตคติ การรับรู้ของประชาชนในสังคม และมียังผลต่อการสร้างอัตลักษณ์ของชาติ สื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารออกมาในลักษณะใด สภาพสังคมย่อมแสดงออกมาในลักษณะนั้นเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าประเทศไทยมีการใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงาม โดยการนำเสนอผ่านแง่มุมของครอบครัว มิตรภาพ คุณธรรม และความรักที่สวยงาม นำไปสู่การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศในสายต่อของคนต่างชาติ สะท้อนให้ผู้ชมรับรู้ถึงความอ่อนโยนของวัฒนธรรมของเรา ก็อาจทำให้เกิดเป็นกระแส ไทยฟีเวอร์ในหลายประเทศทั่วโลก ได้เหมือนกับกระแสฟีเวอร์ของประเทศอื่นๆ ได้เหมือนกัน



"รู้เท่าทันสื่อ" คืออะไร
"รู้เท่าทันสื่อ" คือ ทักษะ หรือความสามารถในการ "ใช้สื่ออย่างรู้ตัว" และ "ใช้สื่ออย่างตื่นตัว"

คำว่า "การใช้สื่ออย่างรู้ตัว" สามารถอธิบายหรือขยายความได้ว่า
- สามารถตีความ วิเคราะห์ แยกแยะเนื้อหาสาระของสื่อ
- สามารถโต้ตอบกับมันได้อย่างมีสติและรู้ตัว
- สามารถตั้งคำถามว่าสื่ิถูกสร้างขึ้นได้อย่างไร เช่น ใครเป็นเจ้าของสื่อ ใครผลิต และผลิตภายใต้ข้อจำกัดใด ควรเชื่อหรือไม่ หรือมีค่านิยมความเชื่ออะไรที่แฝงมากับสื่อนั้น พวกที่ผลิตสื่อหวังผลอะไรจากเรา

คำว่า "การใช้สื่ออย่างตื่นตัว" สามารถอธิบายหรือขยายความได้ว่า
- แทนที่เราจะเป็นฝ่ายตั้งรับอย่างเดียว เราก็จะต้องเปลี่ยนมาเป็นฝ่ายรุกบ้าง โดยการแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เข้าถึงสื่อที่หลากหลายและมีคุณภาพ
- สามารถใช้สื่อให้เกิดประโยชน์
มีส่วนร่วมที่พัฒนาสื่อต่างๆ ให้ดีขึ้น เช่น ท้วงติงหรือร้องเรียนเมื่อพบสื่อที่ไม่เหมาะสม เรียกร้องสิทธิในฐานะเป็นผู้บริโภคสื่อ ฯลฯ





เสรีภาพสื่อได้รับการคุ้มครองอย่างไร
          สิทธิเสรีภาพสื่อได้ถูกรับรองใน มาตรา 46 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย .. 2550 ซึ่งพนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอื่น ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจำกัดตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าของกิจการนั้น แต่ต้องไม่ขัดต่อจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ และมีสิทธิจัดตั้งองค์กรเพื่อปกป้องสิทธิ เสรีภาพและความเป็นธรรม รวมทั้งมีกลไกควบคุมกันเองขององค์กรวิชาชีพ
          การส่งเสริมให้ผู้รับใบอนุญาตมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายกำหนด เป็นภารกิจของ กสทช. ที่จะต้องกำหนดเงื่อนไขการอนุญาตที่ไม่เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของผู้ประกอบวิชาชีพและผู้ร่วมรายการ แนวทางดังกล่าวนับเป็นอีกหนึ่งกลไกที่สำคัญในการลดการแทรกแซงของอำนาจของรัฐและนำไปสู่แนวทางของการปฏิรูปสื่ออย่างแท้จริง


ที่มา : http://bcp.nbtc.go.th

วิธีแก้ปัญหาลูกติด “สื่อเทคโนโลยี”


          การเป็นพ่อแม่ของลูกวัยรุ่นไม่ใช่เรื่องที่ง่าย เนื่องจากสังคมสมัยนี้แวดล้อมไปด้วยสื่อเทคโนโลยีที่ชักชวนให้ลูกหลงไปในทางที่ผิด สิ่งหนึ่งที่ลูกวัยรุ่นต้องการ คือการเป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อนว่าตนเองเป็นคนทันสมัยและไม่เชย ซึ่งการใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยดูเหมือนจะเป็นแฟชั่นที่นิยม และหากไม่มีใช้อาจดูเหมือนเชยและไม่ได้รับการยอมรับ
การใช้สื่อเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการดูทีวี การเล่นวิดีโอเกม การใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯทำให้ลูกพลาดสิ่งสำคัญในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การทำการบ้าน หรืออาจละเลยงานที่รับผิดชอบ เป็นต้น
          จากรายงานของมูลนิธิครอบครัวสถาบันไคร์เซอร์ ของสหรัฐอเมริการะบุว่า มากกว่า 5 ปีมาแล้ว ที่เด็กๆอายุ 8 - 18 ปีเพิ่มปริมาณการเสพสื่อเทคโนโลยีต่างๆ จากการใช้เวลา 1 ชั่วโมง 17 นาทีต่อวัน เพิ่มขึ้นเป็น 6 ชั่วโมง 21 นาที ถึง 7 ชั่วโมง 38 นาทีต่อวัน ซึ่งเทียบเท่ากับการทำงานซึ่งเราใช้ใน 1 วันทีเดียว แต่แย่ยิ่งกว่านั้นคือ เด็กๆ ใช้เวลาถึง 7 วัน ในการเสพสื่อต่างๆ เหล่านี้ การใช้เวลาจากจอภาพนานๆ มีผลต่อลูกอย่างไร หมอทางด้านเด็กกล่าวว่าการจ้องจอภาพเป็นเวลานานทำให้เด็กขาดความกระตือรือร้นและไม่กระฉับกระเฉงตามวัยที่ควรเป็น ซึ่งการทำกิจกรรมต่างๆ ในการขยับเขยื้อนร่างกายนั้นช่วยให้เด็กๆมีความรู้สึกดีกับตัวเอง นอนหลับสบาย และมีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น จอภาพต่างๆ ที่กล่าวถึงในที่นี้คือ คอมพิวเตอร์ ทีวี โทรศัพท์มือถือ รวมทั้งการเล่นเกมต่างๆทางอินเทอร์เน็ต ให้เรามาดูว่าวิธีช่วยเด็กๆ ให้ลดการจ้องจอภาพเป็นเวลานานๆ สามารถทำได้อย่างไร

          1. คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ถึงแม้ว่าดูเหมือนลูกวัยรุ่นจะไม่สนใจในสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทำ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ยังคงเป็นต้นแบบที่สำคัญที่สุดในชีวิตลูก ดังนั้น เราไม่สามารถบอกให้ลูกหยุดเสพเทคโนโลยีต่างๆ ได้หากตัวเราเองยังคงดูทีวีจนดึกดื่น ส่งข้อความในขณะขับรถหรือมีมือถือไว้ข้างตัวขณะทานอาหาร จิตแพทย์ท่านหนึ่งกล่าวว่า หากเราลดปริมาณการดูหนังลง เด็กๆจะมีพฤติกรรมการติดหนังลดลงด้วย ดังนั้น กฎข้อบังคับต่างๆที่ตั้งขึ้นมากมายเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือสื่อสารนั้น ตัวเราเองต้องเป็นแบบอย่างที่ดีด้วย
          2. เตือนลูกถึงเวลาที่กำหนด การงดไม่ให้ลูกเลิกเล่นเครื่องมือสื่อสารต่างๆ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยาก แต่สิ่งที่สำคัญคือเตือนให้ลูกรู้ว่าคุณพ่อคุณแม่รู้ว่าลูกกำลังทำอะไรอยู่ บางครั้งอาจต้องเตือนลูกอย่างใจเย็นๆ ว่า แม่คิดว่าลูกใช้เครื่องมือสื่อสารมากเกินไปแล้วดังนั้น ถึงเวลาควรหยุดและทำอย่างอื่นบ้างได้แล้ว
          3. สร้างแรงจูงใจให้ลูกออกกำลังกาย เด็กวัยรุ่นหลายคนเลิกเล่นกีฬาช่วงวัยรุ่น คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างแรงจูงใจให้ลูกเลือกเล่นกีฬาที่ชอบ หากเราอยากให้ลูกเล่นบาสเกตบอล แต่ลูกอยากว่ายน้ำ เราควรให้ลูกเป็นฝ่ายเลือก และช่วยให้ลูกไปถึงเป้าหมายโดยการไปรับส่งและจัดตารางร่วมกันกับลูก หากลูกชอบการดูดีวีดี คุณพ่อคุณแม่อาจสร้างแรงจูงใจให้ลูกโดยการจัดหาดีวีดี เกี่ยวกับการออกกำลังกายและฝึกทำด้วยกันทั้งบ้านเพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจที่สนุกกับลูก
         

           4. พยายามสนับสนุนการทำกิจกรรมที่ได้เข้าสังคม กิจกรรมหรือการเข้าร่วมในคลับช่วยให้ลูกได้มีโอกาสเข้าสังคม และรู้จักการปรับตัวเข้ากับคนอื่น ในกรณีที่ไม่สามารถชักจูงให้ลูกเข้าร่วมในคลับต่างๆ ได้ ให้ลูกเลือกทำกิจกรรมกับกลุ่มที่ลูกคุ้นเคยและสนใจก่อน เช่นร่วมกิจกรรมที่โรงเรียน ทำกิจกรรมกับเพื่อนบ้านใกล้เคียงหรืออาสาสมัครทำงานที่ลูกชอบเป็นต้น  
          5. มีข้อตกลงร่วมกันในการใช้เครื่องมือสื่อสาร เช่น เขียนสัญญา ข้อตกลงซึ่งเป็นกฎของบ้านร่วมกันกับลูกโดยการให้รางวัลหรือลงวินัยหากทำผิดกฎ เพื่อให้ลูกรู้สึกมีส่วนร่วม ตัวอย่างข้อตกลงมีดังนี้
           5.1 ห้ามส่งข้อความออนไลน์ในระหว่างทานอาหาร ไม่ว่าเป็นที่บ้านหรือร้านอาหาร
           5.2 ห้ามดูทีวีขณะรับประทานอาหาร
           5.3 ต้องทำการบ้านหรืองานบ้านให้เสร็จก่อนดูทีวี
           5.4 เมื่อถึงเวลานอนต้องปิดทีวี
           5.5 ใช้คอมพิวเตอร์ได้ในห้องนั่งเล่น
           5.6 ไม่ตั้งทีวีไว้ในห้องนอน     
          6. เปิดอกคุยกับลูก หากการตั้งกฎต่างๆ ใช้ไม่ได้ผลกับลูก อาจถึงเวลาในการคุยกับลูกตรงๆ ถึงผลเสียของการเสพสื่อเทคโนโลยีต่างๆ ให้ลูกค้นดูงานวิจัยมากมายถึงผลกระทบของการใช้สื่อมากเกินความจำเป็น เช่น เป็นโรคอ้วน จอภาพสายตาเสื่อม เป็นโรคหัวใจเป็นต้น เพื่อจะได้ตระหนักถึงอันตรายที่กำลังเกิดขึ้น



ที่มา : http://www.thaihealth.or.th

อิทธิพลของสื่อโฆษณา

          

          สังคมปัจจุบันผู้บริโภคล้วนตกอยู่ในภายใต้ของการโฆษณาในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ แผ่นป้าย และอื่นๆ ซึ่งมีข้อความหรือคำพูดหรือการแสดงด้วยการชักจูง ถ้าการโฆษณาไม่เกินความเป็นจริง มีความเป็นธรรมกับผู้บริโภค ก็นับว่าเป็นประโยชน์ เพราะจะเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภครู้จักสินค้าและสามารถเลือกในการตัดสินใจเลือดสินค้าได้อย่างถูกต้อง ซึ่งผู้บริโภคควรมีความรู้เกี่ยวกับกลไกของการโฆษณาชักจูง และนำมาวิเคราะห์ ไตร่ตรองไม่ให้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของการโฆษณา  สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากการแพร่หลายของปริมาณข่าวสารความรู้ รวมถึงความทันสมัยและความรวดเร็วของการพัฒนาเทคโนโลยี นำความเจริญไปพร้อมกันไปกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม
การคุกคามของสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าต่อผู้บริโภคมีจำนวนสูงมาก
และมีแนวโน้มสูงขึ้นอีกในอนาคตเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักและระมัดระวังในการรับสารและมีสติในการไตร่ตรองเพื่อไม่ถูกสื่อแทรกแซงความคิดความเชื่อต่อโฆษณาที่แฝงมาในรูปแบบอื่นๆของสารที่ได้รับจากการบริโภคข้อมูลจากสื่อต่างๆ อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีบทบาทในการดูแลและควบคุมการเผยแพร่โฆษณาและข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลชนให้ตระหนักถึงความรุนแรงของการคุกคามที่กำลังเพิ่มมากขึ้น เพื่อหาแนวทางการดำเนินการควบคุมการโฆษณาแฝงและการคุกคามของสื่อต่อผู้บริโภคให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม
การโฆษณามีวัตถุประสงค์เพื่อขายสินค้าหรือบริการให้มากที่สุด
ดังนั้นไม่ควรหลงเชื่อกับคำโฆษณาโดยง่าย ควรวิเคราะห์ความเป็นเหตุเป็นผลของข้อมูลจากสื่อโฆษณาสินค้าให้รอบคอบเสียก่อนที่จะตัดสินใจซื้อทุกครั้ง สื่อโฆษณาจึงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคหรือใช้บริการของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก อิทธิพลของสื่อโฆษณามีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าทุกๆกลุ่มคนไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของการศึกษา อาชีพและรายได้ โดยเฉพาะการตัดสินใจซื้อสินค้าของเพศหญิงซึ่งมีมากกว่าเพศชาย  เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคในการรับข้อมูลจากสื่อโฆษณาที่ถูกต้อง ควรยึดหลักพิจารณาข้อความโฆษณาสินค้าและบริการทุกประเภท

          การโฆษณาส่งผลกระทบอย่างมากมายต่อสังคมเพราะการแข่งขันทางธุรกิจการตลาด ทำให้โฆษณามีมากขึ้นเนื่องจากผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการมีจำนวนมากขึ้นกับบริษัทตัวแทนโฆษณา รวมทั้งผู้ผลิตตัวบริษัททั้งในประเทศไทยและจากต่างประเทศก็มีจำนวนมากขึ้น ด้วยทำให้เกิดการแข่งขันมากมายในการเสนอโฆษณาจะต้องสร้างสรรค์งานโฆษณาให้บริษัทผู้ผลิตสินค้าและบริการพึงพอใจ ส่วนบริษัทผู้ผลิตสินค้าและบริการก็มีการแข่งขันซึ่งกันและกันสูงมากขึ้นตามไปด้วย การโฆษณาจึงมีบทบาทสำคัญในการเผลแพร่ข้อมูลของสินค้าและบริการนั้นๆ สำหรับการสร้างสรรค์งานโฆษณาเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจหรือประเด็นที่คนในสังคมต้องการกล่าวถึง นักโฆษณาในปัจจุบันจึงสร้างสรรค์โฆษณาแนวแปลกใหม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมทั้งด้านบวกและด้านลบ

ที่มา : http://www.mdinteraktiv.com