วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สื่อมีบทบาทในสังคมอย่างไรบ้าง

          


          “สื่อ ถือเป็นกระจกสะท้อนสภาพของสังคม เปรียบเสมือนเครื่องมือที่มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างค่านิยม เจตคติ การรับรู้ของประชาชนในสังคม และมียังผลต่อการสร้างอัตลักษณ์ของชาติ สื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารออกมาในลักษณะใด สภาพสังคมย่อมแสดงออกมาในลักษณะนั้นเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าประเทศไทยมีการใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงาม โดยการนำเสนอผ่านแง่มุมของครอบครัว มิตรภาพ คุณธรรม และความรักที่สวยงาม นำไปสู่การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศในสายต่อของคนต่างชาติ สะท้อนให้ผู้ชมรับรู้ถึงความอ่อนโยนของวัฒนธรรมของเรา ก็อาจทำให้เกิดเป็นกระแส ไทยฟีเวอร์ในหลายประเทศทั่วโลก ได้เหมือนกับกระแสฟีเวอร์ของประเทศอื่นๆ ได้เหมือนกัน



"รู้เท่าทันสื่อ" คืออะไร
"รู้เท่าทันสื่อ" คือ ทักษะ หรือความสามารถในการ "ใช้สื่ออย่างรู้ตัว" และ "ใช้สื่ออย่างตื่นตัว"

คำว่า "การใช้สื่ออย่างรู้ตัว" สามารถอธิบายหรือขยายความได้ว่า
- สามารถตีความ วิเคราะห์ แยกแยะเนื้อหาสาระของสื่อ
- สามารถโต้ตอบกับมันได้อย่างมีสติและรู้ตัว
- สามารถตั้งคำถามว่าสื่ิถูกสร้างขึ้นได้อย่างไร เช่น ใครเป็นเจ้าของสื่อ ใครผลิต และผลิตภายใต้ข้อจำกัดใด ควรเชื่อหรือไม่ หรือมีค่านิยมความเชื่ออะไรที่แฝงมากับสื่อนั้น พวกที่ผลิตสื่อหวังผลอะไรจากเรา

คำว่า "การใช้สื่ออย่างตื่นตัว" สามารถอธิบายหรือขยายความได้ว่า
- แทนที่เราจะเป็นฝ่ายตั้งรับอย่างเดียว เราก็จะต้องเปลี่ยนมาเป็นฝ่ายรุกบ้าง โดยการแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เข้าถึงสื่อที่หลากหลายและมีคุณภาพ
- สามารถใช้สื่อให้เกิดประโยชน์
มีส่วนร่วมที่พัฒนาสื่อต่างๆ ให้ดีขึ้น เช่น ท้วงติงหรือร้องเรียนเมื่อพบสื่อที่ไม่เหมาะสม เรียกร้องสิทธิในฐานะเป็นผู้บริโภคสื่อ ฯลฯ





เสรีภาพสื่อได้รับการคุ้มครองอย่างไร
          สิทธิเสรีภาพสื่อได้ถูกรับรองใน มาตรา 46 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย .. 2550 ซึ่งพนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอื่น ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจำกัดตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าของกิจการนั้น แต่ต้องไม่ขัดต่อจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ และมีสิทธิจัดตั้งองค์กรเพื่อปกป้องสิทธิ เสรีภาพและความเป็นธรรม รวมทั้งมีกลไกควบคุมกันเองขององค์กรวิชาชีพ
          การส่งเสริมให้ผู้รับใบอนุญาตมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายกำหนด เป็นภารกิจของ กสทช. ที่จะต้องกำหนดเงื่อนไขการอนุญาตที่ไม่เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของผู้ประกอบวิชาชีพและผู้ร่วมรายการ แนวทางดังกล่าวนับเป็นอีกหนึ่งกลไกที่สำคัญในการลดการแทรกแซงของอำนาจของรัฐและนำไปสู่แนวทางของการปฏิรูปสื่ออย่างแท้จริง


ที่มา : http://bcp.nbtc.go.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น