วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ผลกระทบจากละครโทรทัศน์ต่อสังคม

หน้าที่ของสื่อมวลชน
1.  สะท้อนแง่คิด
2.  ชี้นำสังคมและคนในสังคม
3.  ชวนคิด
4.  สืบทอด ต้องมีสิ่งให้ผู้รับสารสามารถสืบทอดต่อไปได้
5.  บันเทิง ให้ความสนุกสนาน ความบันเทิงแก่สังคม

สื่อมวลชนมีสองสถานะ
1.  สถานะองค์กรทางสังคม แนะนำคนดูอย่างไร ให้คนดูคิดอะไร เติบโตขึ้นมาอย่างไร
2.  องค์กรทางเศรษฐกิจ

ผลกระทบทางลบ
1.  พฤติกรรม แนวโน้มที่ทำให้คนในสังคมคิดและคล้อยตามไปโดยปริยาย
2.  ทัศนคติ สื่อมวลชนเป็นสื่อที่ทำให้คนดูบางกลุ่มเกิดความไม่พอใจและอาจจะขัดแย้งกับสื่อได้
3.  การมองโลก แล้วแต่คนแต่ละกลุ่มที่ดูสื่อและจะมองในแง่ลบหรือบวก
4.  การเสพติด และบทสนทนา เป็นการทำให้คนดูเสพติดสิ่งที่ผิดได้ และบทสนทนาของละครก็อาทำให้คนดูติดตามและทำในสิ่งที่ผิด บางประโยคอาจเป็นคำไม่สุภาพ
5.  ปัญหาเรื่องเพศ วัตถุนิยม และความรุนแรง ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าว ขึ้นอยู่กับพื้นนิสัยของผู้ชมด้วย เป็นปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นค่านิยมของสังคม แต่อาจทำให้เกิดปัญหาได้ถ้าคนดูดูละครด้วยความไม่มีสติ
6.  อบายมุข อาจเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ชมติดอบายมุข
7.  ค่านิยม และรูปแบบในการดำเนินชีวิต ซึ่งมีผลทั้งละครและโฆษณา ถ้าเด็กได้รับปลูกฝังคำนิยมที่ถูกต้อง ตัวละครก็จะไม่ส่งผลต่อเด็ก อาจทำให้คนดูทำตามสื่อ

กระแสละครโทรทัศน์ในปัจจุบัน
1.  มีหลายเรื่องหลายช่อง
2.  มีดาราในสังกัด
3.  ละครภาคค่ำมาฉายซ้ำในตอนกลางวัน

การชมละครโทรทัศน์
1.  ใช้เวลามากเกินไป เรื่องหนึ่งในแต่ละตอนยาวเกินไป
2.  มุ่งเน้นคะแนนนิยม มุ่งไปที่ rating มากเกินไป
3.  สร้างวัฒนธรรมจากละคร
4.  ใช้ดาราดึงคะแนนนิยม

ข้อดี: ถ้าดาราคนนั้นเข้ากับบท ละครก็จะออกมาดี ทำให้ผู้ชมมีอารมณ์คล้อยตามกับละคร
ข้อเสีย: ถ้าตัวละครไม่เข้ากับบทละคร ละครก็จะออกมาไม่ดี
1.  ต้องการสร้างบทสนทนา บทสนทนาของคนในสังคมมาจากละครเยอะ
2.  ผู้ชมใช้สินค้าตามตัวละคร สร้างกระแสการบริโภค
3.  สร้างความทะเยอทะยานและรสนิยม ผู้ชมต้องการเป็นอย่างในละคร ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย

การจัดการละครโทรทัศน์
1.  ละครเป็นสินค้าหลักของช่อง
2.  คนทำละครต้องพัฒนาอยู่ตลอดเวลาอยู่กับที่ไม่ได้ มีการใช้นวัตกรรมและเทคนิคมากขึ้น
3.  คะแนนนิยมหรือ rating ละครที่ไม่สามารถรักษา rating จะได้รับผลกระทบจากช่องที่สังกัด
4.  การจัดเวลา มีผลอย่างมาก ถ้าละครไปอยู่ในช่วงที่คนดูเยอะ rating จะดี สินค้าที่ดีซึ่งเป็นผู้ลงโฆษณาจะอยู่ในช่วงเวลาที่ดี
5.  งานโฆษณา ละครที่ดีก็จะมีสินค้าติดต่อเพื่อลงโฆษณา
6.  มีตัวดึง นักแสดงมีผลอย่างมากต่อ rating เพราะเป็นตัวดึงผู้ชม

อิทธิพลของละคร
ไม่ได้เกิดขึ้นโดยปริยาย ไม่ควรยกย่องอิทธิพลของสื่อมากเกินไป ด้านลบของอิทธิพลสื่อก็มี
1.  สาวก แฟนคลับ
2.  หลงรัก
3.  ใฝ่หารอคอย
4.  วัฒนธรรม ภาษา ทัศนคติ มีคำพูดบางประโยคที่ผู้ชมนำมาพูดตาม
5.  แหล่งข้อมูลในการสนทนาเพื่อความบันเทิง

พฤติกรรมของคนไทยที่มาจากละคร
1.  แนวคิด และคำพูด
2.  สร้างกระแสสังคม
3.  กำหนดมุมมอง โลกทัศน์
4.  เยาวชนและชนชันล่างได้รับอิทธิพลสูงกว่า
5.  รูปแบบในการดำเนินชีวิตของชนชั้นสูงและชั้นกลาง
6.  ล้มล้างทำเนียมนิยมในบางกรณี
7.  ความนิยมในการตั้งชื่อลูก

          การเป็นสื่อมวลชน มีทั้งหน้าที่ในการสะท้อนสังคม และต้องมีจรรยาบรรณในวิชาชีพของตน ในขณะเดียวกัน คนดูอยากให้คนทำละครทำละครออกมาอย่างไร เราก็ต้องแสดงให้คนทำละครเห็นถึงสิ่งที่เราอยากดูด้วย
          ความเป็นมืออาชีพ นอกจากจะเก่งจากมือสมัครเล่น คือการตระหนักในจรรยาบรรณในสาขาวิชาละคร ซึ่งจะต้องเตรียมเรื่องที่จะส่งสารถึงผู้ชม สุดท้ายคือ plot เรื่องคือสิ่งสำคัญในการละคร สื่อมวลชนควรยอมรับความคิดเห็น การชี้แนะของผู้รับสาร ไม่ควรบอกอะไรตรงไปตรงมาจนเกินไป ควรให้ผู้ชมได้คิดเองบ้าง
          องค์กรทางสังคมจะทำหน้าที่ขัดเกลาผู้คน และเป็นสถาบันด้านเศรษฐกิจ ทำให้ rating ดี จนมีโฆษณาเข้ามา ละครที่ rating ดีคือละครที่ไม่ทำให้เป็นปัญหาต่อผู้ชม และชี้แนะสังคม

ครอบครัวเป็นภูมิคุ้มกันในการรับชมสื่อของเยาวชน ว่าจะรับข่าวสารอย่างไร ถ้าเยาวชนได้รับการปลูกฝังที่ดีที่ถูกต้อง ค่านิยมจากสื่อจะไม่มีผลกับเยาวชนมากนัก


ที่มา : https://kmofca.wordpress.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น