วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เทคนิคการทำstop motion ด้วย iPhone




ที่มา : https://www.youtube.com

ทำ VDO Stop Motion ภายใน 1 นาที ด้วย Sony Vegas




*** ภาพที่ถ่ายมาเพื่อทำ Stop Motion
     แนะนำให้ถ่ายด้วย mode manual ทั้งหมดเลย
      และ focus ก็ขอให้เป็นแบบ manualด้วยจะยิ่งดี ***



ที่มา : https://www.youtube.com

ประวัติความเป็นมาของstop motion

Stop-motion เริ่มมีมาตั้งแต่ช่วงปลายปี ค.ศ. 1800 ถูกสร้างโดยใส่การเคลื่อนไหวเข้าไปในวัตถุที่เคลื่อนไหวไม่ได้ พวกเราลองมาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของ Stop-motion กันเถอะค่ะ

Taller de Iluminación

ในสมัยก่อน การทำ stop-motion ส่วนมากจะทำกับวัตถุที่เคลื่อนไหวเองไม่ได้ ต้องทำการถ่ายรูปแล้วก็ขยับวัตถุทีละครั้งแล้วก็ถ่ายรูปซ้ำไปซ้ำมา พอได้ภาพจำนวนหนึ่ง ก็จะนำมาเรียงต่อกันเพื่อทำเป็นหนัง stop-motion เรื่องสั้นเรื่องแรก คือ The Humpty Dumpty Circus สร้างโดย Albert Smith กับ Stuart Blackton ในปี 1899

The Humpty Dumpty Circus


Emile Cohl
Emile Cohl นักสร้างการตูนและผู้สร้างอนิเมชั่นชาวฝรั่งเศส เป็นคนนำ stop-motion เข้ามาสู่อเมริกา เขาใช้ ภาพวาด หุ่นจำลอง และอื่นๆที่เคลื่อนไหวไม่ได้ เท่าที่เขาจะหาได้ สำหรับทำ stop-motion แล้วหนัง stop-motion เรื่องแรกของเขา ชื่อว่า Fantasmagorie เขาสร้างมันเสร็จในปี 1908 ใช้ภาพวาดทั้งหมด 700 ภาพ แล้วถ่ายรูปขึ้นมาเพื่อนำมาทำเป็นอนิเมชั่น


Emile Cohl


Willis O’Brien
Willis O’Brien เป็นผู้สร้างเทคนิคพิเศษให้กับวงการภาพยนตร์ ภาพยนตร์เรื่องแรกที่เขาร่วมสร้างคือ The Lost World ในปี 1925 ในภาพยนตร์มีบางช่วงที่เป็น stop-motion ซึ่งเขาเป็นคนทำมัน จากผลงานนี้ทำให้เขาได้ร่วมงานกับทีมสร้าง King Kong

Willis O’Brien



stop motion คืออะไร

การถ่ายสต็อปโมชัน (stop motion) เป็นแอนิเมชันที่ผู้ทำแอนิเมชันต้องสร้างส่วนประกอบต่าง ๆ ของภาพขึ้นด้วยวิธีอื่น นอกเหนือจากการวาดบนแผ่นกระดาษ หรือแผ่นเซล และยังต้องยอมเมื่อยมือ ขยับรูปร่างท่าทางของส่วนประกอบเหล่านั้นทีละนิด ๆ แล้วใช้กล้องถ่ายไว้ทีละเฟรม ๆ

เทคนิค
การถ่ายสต็อปโมชันมีเทคนิคทำได้หลากหลาย เช่น

-เคลย์แอนิเมชัน (Clay animation เรียกย่อ ๆ ว่า เคลย์เมชัน / claymation)
คือแอนิเมชันที่ใช้หุ่นซึ่งทำจากดินเหนียว ขี้ผึ้ง หรือวัสดุใกล้เคียง โดยใส่โครงลวดไว้ข้างในเพื่อให้ดัดท่าทางได้

-คัตเอาต์แอนิเมชัน (Cutout animation)
สมัยก่อนแอนิเมชันแบบนี้ทำโดยใช้วัสดุ 2 มิติ (เช่น กระดาษ, ผ้า) ตัดเป็นรูปต่างๆ และนำมาขยับเพื่อถ่ายเก็บไว้ทีละเฟรม แต่ปัจจุบันใช้วิธีวาดหรือสแกนภาพเข้าไปขยับในคอมพิวเตอร์ได้เลย

-กราฟิกแอนิเมชัน (Graphic animation)
เป็นอีกเทคนิคที่น่าสนใจไม่เบา เกิดจากการนำกล้องมาถ่ายภาพนิ่งต่าง ๆ ที่เราเลือกไว้ (จะเป็นภาพจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ก็ได้) ทีละภาพ ทีละเฟรม แล้วนำมาตัดต่อเข้าด้วยกันเหมือนเทคนิคคอลลาจ (collage – ปะติด) โดยอาจใช้เทคนิคแแอนิเมชันแบบอื่นมาประกอบด้วยก็ได้

-โมเดลแอนิเมชัน (Model animation)
คือการทำตัวละครโมเดลขึ้นมาขยับ แล้วซ้อนภาพเข้ากับฉากที่มีคนแสดงจริงและฉากหลังเหมือนจริง

-แอนิเมชันที่เล่นกับวัตถุอื่นๆ (Object animation)
ไม่ว่าจะเป็นของเล่น หุ่น ตุ๊กตา ตัวต่อเลโก้ ฯลฯ อะไรก็ตามที่ไม่ใช่วัสดุซึ่งดัดแปลงรูปร่างหน้าตาได้แบบดินเหนียว

-พิกซิลเลชัน (Pixilation)

เป็นสต็อปโมชันที่ใช้คนจริง ๆ มาขยับท่าทางทีละนิดแล้วถ่ายไว้ทีละเฟรม เทคนิคนี้เหมาะมากถ้าเราทำแอนิเมชันที่มีหุ่นแสดงร่วมกับคน และอยากให้ทั้ง หุ่นทั้งคนดูเคลื่อนไหวคล้ายคลึงกัน หรือที่อยากได้อารมณ์กระตุกๆ


ที่มา : https://th.wikipedia.org

สื่อมีบทบาทในสังคมอย่างไรบ้าง

          


          “สื่อ ถือเป็นกระจกสะท้อนสภาพของสังคม เปรียบเสมือนเครื่องมือที่มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างค่านิยม เจตคติ การรับรู้ของประชาชนในสังคม และมียังผลต่อการสร้างอัตลักษณ์ของชาติ สื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารออกมาในลักษณะใด สภาพสังคมย่อมแสดงออกมาในลักษณะนั้นเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าประเทศไทยมีการใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงาม โดยการนำเสนอผ่านแง่มุมของครอบครัว มิตรภาพ คุณธรรม และความรักที่สวยงาม นำไปสู่การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศในสายต่อของคนต่างชาติ สะท้อนให้ผู้ชมรับรู้ถึงความอ่อนโยนของวัฒนธรรมของเรา ก็อาจทำให้เกิดเป็นกระแส ไทยฟีเวอร์ในหลายประเทศทั่วโลก ได้เหมือนกับกระแสฟีเวอร์ของประเทศอื่นๆ ได้เหมือนกัน



"รู้เท่าทันสื่อ" คืออะไร
"รู้เท่าทันสื่อ" คือ ทักษะ หรือความสามารถในการ "ใช้สื่ออย่างรู้ตัว" และ "ใช้สื่ออย่างตื่นตัว"

คำว่า "การใช้สื่ออย่างรู้ตัว" สามารถอธิบายหรือขยายความได้ว่า
- สามารถตีความ วิเคราะห์ แยกแยะเนื้อหาสาระของสื่อ
- สามารถโต้ตอบกับมันได้อย่างมีสติและรู้ตัว
- สามารถตั้งคำถามว่าสื่ิถูกสร้างขึ้นได้อย่างไร เช่น ใครเป็นเจ้าของสื่อ ใครผลิต และผลิตภายใต้ข้อจำกัดใด ควรเชื่อหรือไม่ หรือมีค่านิยมความเชื่ออะไรที่แฝงมากับสื่อนั้น พวกที่ผลิตสื่อหวังผลอะไรจากเรา

คำว่า "การใช้สื่ออย่างตื่นตัว" สามารถอธิบายหรือขยายความได้ว่า
- แทนที่เราจะเป็นฝ่ายตั้งรับอย่างเดียว เราก็จะต้องเปลี่ยนมาเป็นฝ่ายรุกบ้าง โดยการแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เข้าถึงสื่อที่หลากหลายและมีคุณภาพ
- สามารถใช้สื่อให้เกิดประโยชน์
มีส่วนร่วมที่พัฒนาสื่อต่างๆ ให้ดีขึ้น เช่น ท้วงติงหรือร้องเรียนเมื่อพบสื่อที่ไม่เหมาะสม เรียกร้องสิทธิในฐานะเป็นผู้บริโภคสื่อ ฯลฯ





เสรีภาพสื่อได้รับการคุ้มครองอย่างไร
          สิทธิเสรีภาพสื่อได้ถูกรับรองใน มาตรา 46 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย .. 2550 ซึ่งพนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอื่น ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจำกัดตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าของกิจการนั้น แต่ต้องไม่ขัดต่อจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ และมีสิทธิจัดตั้งองค์กรเพื่อปกป้องสิทธิ เสรีภาพและความเป็นธรรม รวมทั้งมีกลไกควบคุมกันเองขององค์กรวิชาชีพ
          การส่งเสริมให้ผู้รับใบอนุญาตมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายกำหนด เป็นภารกิจของ กสทช. ที่จะต้องกำหนดเงื่อนไขการอนุญาตที่ไม่เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของผู้ประกอบวิชาชีพและผู้ร่วมรายการ แนวทางดังกล่าวนับเป็นอีกหนึ่งกลไกที่สำคัญในการลดการแทรกแซงของอำนาจของรัฐและนำไปสู่แนวทางของการปฏิรูปสื่ออย่างแท้จริง


ที่มา : http://bcp.nbtc.go.th

วิธีแก้ปัญหาลูกติด “สื่อเทคโนโลยี”


          การเป็นพ่อแม่ของลูกวัยรุ่นไม่ใช่เรื่องที่ง่าย เนื่องจากสังคมสมัยนี้แวดล้อมไปด้วยสื่อเทคโนโลยีที่ชักชวนให้ลูกหลงไปในทางที่ผิด สิ่งหนึ่งที่ลูกวัยรุ่นต้องการ คือการเป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อนว่าตนเองเป็นคนทันสมัยและไม่เชย ซึ่งการใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยดูเหมือนจะเป็นแฟชั่นที่นิยม และหากไม่มีใช้อาจดูเหมือนเชยและไม่ได้รับการยอมรับ
การใช้สื่อเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการดูทีวี การเล่นวิดีโอเกม การใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯทำให้ลูกพลาดสิ่งสำคัญในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การทำการบ้าน หรืออาจละเลยงานที่รับผิดชอบ เป็นต้น
          จากรายงานของมูลนิธิครอบครัวสถาบันไคร์เซอร์ ของสหรัฐอเมริการะบุว่า มากกว่า 5 ปีมาแล้ว ที่เด็กๆอายุ 8 - 18 ปีเพิ่มปริมาณการเสพสื่อเทคโนโลยีต่างๆ จากการใช้เวลา 1 ชั่วโมง 17 นาทีต่อวัน เพิ่มขึ้นเป็น 6 ชั่วโมง 21 นาที ถึง 7 ชั่วโมง 38 นาทีต่อวัน ซึ่งเทียบเท่ากับการทำงานซึ่งเราใช้ใน 1 วันทีเดียว แต่แย่ยิ่งกว่านั้นคือ เด็กๆ ใช้เวลาถึง 7 วัน ในการเสพสื่อต่างๆ เหล่านี้ การใช้เวลาจากจอภาพนานๆ มีผลต่อลูกอย่างไร หมอทางด้านเด็กกล่าวว่าการจ้องจอภาพเป็นเวลานานทำให้เด็กขาดความกระตือรือร้นและไม่กระฉับกระเฉงตามวัยที่ควรเป็น ซึ่งการทำกิจกรรมต่างๆ ในการขยับเขยื้อนร่างกายนั้นช่วยให้เด็กๆมีความรู้สึกดีกับตัวเอง นอนหลับสบาย และมีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น จอภาพต่างๆ ที่กล่าวถึงในที่นี้คือ คอมพิวเตอร์ ทีวี โทรศัพท์มือถือ รวมทั้งการเล่นเกมต่างๆทางอินเทอร์เน็ต ให้เรามาดูว่าวิธีช่วยเด็กๆ ให้ลดการจ้องจอภาพเป็นเวลานานๆ สามารถทำได้อย่างไร

          1. คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ถึงแม้ว่าดูเหมือนลูกวัยรุ่นจะไม่สนใจในสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทำ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ยังคงเป็นต้นแบบที่สำคัญที่สุดในชีวิตลูก ดังนั้น เราไม่สามารถบอกให้ลูกหยุดเสพเทคโนโลยีต่างๆ ได้หากตัวเราเองยังคงดูทีวีจนดึกดื่น ส่งข้อความในขณะขับรถหรือมีมือถือไว้ข้างตัวขณะทานอาหาร จิตแพทย์ท่านหนึ่งกล่าวว่า หากเราลดปริมาณการดูหนังลง เด็กๆจะมีพฤติกรรมการติดหนังลดลงด้วย ดังนั้น กฎข้อบังคับต่างๆที่ตั้งขึ้นมากมายเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือสื่อสารนั้น ตัวเราเองต้องเป็นแบบอย่างที่ดีด้วย
          2. เตือนลูกถึงเวลาที่กำหนด การงดไม่ให้ลูกเลิกเล่นเครื่องมือสื่อสารต่างๆ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยาก แต่สิ่งที่สำคัญคือเตือนให้ลูกรู้ว่าคุณพ่อคุณแม่รู้ว่าลูกกำลังทำอะไรอยู่ บางครั้งอาจต้องเตือนลูกอย่างใจเย็นๆ ว่า แม่คิดว่าลูกใช้เครื่องมือสื่อสารมากเกินไปแล้วดังนั้น ถึงเวลาควรหยุดและทำอย่างอื่นบ้างได้แล้ว
          3. สร้างแรงจูงใจให้ลูกออกกำลังกาย เด็กวัยรุ่นหลายคนเลิกเล่นกีฬาช่วงวัยรุ่น คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างแรงจูงใจให้ลูกเลือกเล่นกีฬาที่ชอบ หากเราอยากให้ลูกเล่นบาสเกตบอล แต่ลูกอยากว่ายน้ำ เราควรให้ลูกเป็นฝ่ายเลือก และช่วยให้ลูกไปถึงเป้าหมายโดยการไปรับส่งและจัดตารางร่วมกันกับลูก หากลูกชอบการดูดีวีดี คุณพ่อคุณแม่อาจสร้างแรงจูงใจให้ลูกโดยการจัดหาดีวีดี เกี่ยวกับการออกกำลังกายและฝึกทำด้วยกันทั้งบ้านเพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจที่สนุกกับลูก
         

           4. พยายามสนับสนุนการทำกิจกรรมที่ได้เข้าสังคม กิจกรรมหรือการเข้าร่วมในคลับช่วยให้ลูกได้มีโอกาสเข้าสังคม และรู้จักการปรับตัวเข้ากับคนอื่น ในกรณีที่ไม่สามารถชักจูงให้ลูกเข้าร่วมในคลับต่างๆ ได้ ให้ลูกเลือกทำกิจกรรมกับกลุ่มที่ลูกคุ้นเคยและสนใจก่อน เช่นร่วมกิจกรรมที่โรงเรียน ทำกิจกรรมกับเพื่อนบ้านใกล้เคียงหรืออาสาสมัครทำงานที่ลูกชอบเป็นต้น  
          5. มีข้อตกลงร่วมกันในการใช้เครื่องมือสื่อสาร เช่น เขียนสัญญา ข้อตกลงซึ่งเป็นกฎของบ้านร่วมกันกับลูกโดยการให้รางวัลหรือลงวินัยหากทำผิดกฎ เพื่อให้ลูกรู้สึกมีส่วนร่วม ตัวอย่างข้อตกลงมีดังนี้
           5.1 ห้ามส่งข้อความออนไลน์ในระหว่างทานอาหาร ไม่ว่าเป็นที่บ้านหรือร้านอาหาร
           5.2 ห้ามดูทีวีขณะรับประทานอาหาร
           5.3 ต้องทำการบ้านหรืองานบ้านให้เสร็จก่อนดูทีวี
           5.4 เมื่อถึงเวลานอนต้องปิดทีวี
           5.5 ใช้คอมพิวเตอร์ได้ในห้องนั่งเล่น
           5.6 ไม่ตั้งทีวีไว้ในห้องนอน     
          6. เปิดอกคุยกับลูก หากการตั้งกฎต่างๆ ใช้ไม่ได้ผลกับลูก อาจถึงเวลาในการคุยกับลูกตรงๆ ถึงผลเสียของการเสพสื่อเทคโนโลยีต่างๆ ให้ลูกค้นดูงานวิจัยมากมายถึงผลกระทบของการใช้สื่อมากเกินความจำเป็น เช่น เป็นโรคอ้วน จอภาพสายตาเสื่อม เป็นโรคหัวใจเป็นต้น เพื่อจะได้ตระหนักถึงอันตรายที่กำลังเกิดขึ้น



ที่มา : http://www.thaihealth.or.th

อิทธิพลของสื่อโฆษณา

          

          สังคมปัจจุบันผู้บริโภคล้วนตกอยู่ในภายใต้ของการโฆษณาในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ แผ่นป้าย และอื่นๆ ซึ่งมีข้อความหรือคำพูดหรือการแสดงด้วยการชักจูง ถ้าการโฆษณาไม่เกินความเป็นจริง มีความเป็นธรรมกับผู้บริโภค ก็นับว่าเป็นประโยชน์ เพราะจะเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภครู้จักสินค้าและสามารถเลือกในการตัดสินใจเลือดสินค้าได้อย่างถูกต้อง ซึ่งผู้บริโภคควรมีความรู้เกี่ยวกับกลไกของการโฆษณาชักจูง และนำมาวิเคราะห์ ไตร่ตรองไม่ให้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของการโฆษณา  สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากการแพร่หลายของปริมาณข่าวสารความรู้ รวมถึงความทันสมัยและความรวดเร็วของการพัฒนาเทคโนโลยี นำความเจริญไปพร้อมกันไปกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม
การคุกคามของสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าต่อผู้บริโภคมีจำนวนสูงมาก
และมีแนวโน้มสูงขึ้นอีกในอนาคตเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักและระมัดระวังในการรับสารและมีสติในการไตร่ตรองเพื่อไม่ถูกสื่อแทรกแซงความคิดความเชื่อต่อโฆษณาที่แฝงมาในรูปแบบอื่นๆของสารที่ได้รับจากการบริโภคข้อมูลจากสื่อต่างๆ อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีบทบาทในการดูแลและควบคุมการเผยแพร่โฆษณาและข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลชนให้ตระหนักถึงความรุนแรงของการคุกคามที่กำลังเพิ่มมากขึ้น เพื่อหาแนวทางการดำเนินการควบคุมการโฆษณาแฝงและการคุกคามของสื่อต่อผู้บริโภคให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม
การโฆษณามีวัตถุประสงค์เพื่อขายสินค้าหรือบริการให้มากที่สุด
ดังนั้นไม่ควรหลงเชื่อกับคำโฆษณาโดยง่าย ควรวิเคราะห์ความเป็นเหตุเป็นผลของข้อมูลจากสื่อโฆษณาสินค้าให้รอบคอบเสียก่อนที่จะตัดสินใจซื้อทุกครั้ง สื่อโฆษณาจึงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคหรือใช้บริการของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก อิทธิพลของสื่อโฆษณามีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าทุกๆกลุ่มคนไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของการศึกษา อาชีพและรายได้ โดยเฉพาะการตัดสินใจซื้อสินค้าของเพศหญิงซึ่งมีมากกว่าเพศชาย  เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคในการรับข้อมูลจากสื่อโฆษณาที่ถูกต้อง ควรยึดหลักพิจารณาข้อความโฆษณาสินค้าและบริการทุกประเภท

          การโฆษณาส่งผลกระทบอย่างมากมายต่อสังคมเพราะการแข่งขันทางธุรกิจการตลาด ทำให้โฆษณามีมากขึ้นเนื่องจากผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการมีจำนวนมากขึ้นกับบริษัทตัวแทนโฆษณา รวมทั้งผู้ผลิตตัวบริษัททั้งในประเทศไทยและจากต่างประเทศก็มีจำนวนมากขึ้น ด้วยทำให้เกิดการแข่งขันมากมายในการเสนอโฆษณาจะต้องสร้างสรรค์งานโฆษณาให้บริษัทผู้ผลิตสินค้าและบริการพึงพอใจ ส่วนบริษัทผู้ผลิตสินค้าและบริการก็มีการแข่งขันซึ่งกันและกันสูงมากขึ้นตามไปด้วย การโฆษณาจึงมีบทบาทสำคัญในการเผลแพร่ข้อมูลของสินค้าและบริการนั้นๆ สำหรับการสร้างสรรค์งานโฆษณาเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจหรือประเด็นที่คนในสังคมต้องการกล่าวถึง นักโฆษณาในปัจจุบันจึงสร้างสรรค์โฆษณาแนวแปลกใหม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมทั้งด้านบวกและด้านลบ

ที่มา : http://www.mdinteraktiv.com

สาเหตุที่ไม่ควรให้ลูกติดสื่อออนไลน์

       

        1.สร้างให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมใหัเกิดขึ้น มีเด็กๆ หลายคนที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างไม่รู้ตัวเพราะสื่อออนไลน์ เช่น ลูกเห็นว่าเพื่อนๆลงรูปแต่งตัวโป๊ วับๆ แวมๆ ลงตามสื่อออนไลน์ต่างๆ แล้วมีคนให้ความสนใจกด like จำนวนมาก เด็กก็เลยอยากจะเป็นที่สนใจเช่นนั้น ก็เลยนำรูปถ่ายวับๆ แวมๆ ของตนเองลงตามสื่อออนไลน์ต่างๆ บ้าง ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงและอาจมีผลกระทบต่อการเรียนและการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมของลูกได้
      
       2.อาจตกเป็นเหยื่อของพวกผู้ร้ายหรือผู้ที่ไม่ประสงค์ดี พวกคนร้ายมักแฝงตัวอยู่ในสังคมออนไลน์ เพราะมันสามารถทำความผิดได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง การรับบุคคลใดเป็นเพื่อนผ่านเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือโปรแกรมสนทนาออนไลน์โดยที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน อาจเป็นช่องทางให้ถูกหลอกลวง ซึ่งแน่นอนว่าอาจเกิดความไม่ปลอดภัยและเกิดผลเสียต่อลูกได้ เช่น การหลอกนัดให้ออกมาเจอตัวกันจริงๆ แล้วพาไปล่วงละเมิดทางเพศ หรือชิงทรัพย์ หรือไม่เช่นนั้นอาจเป็นช่องทางให้คนที่คิดไม่ดีกับเด็ก ใส่ความในทางที่อาจเสียหายต่อชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง เช่น การนำรูปเด็กไปตัดต่อ การนำข้อมูลส่วนตัวของเด็กไปใช้ในทางที่เสียหาย
      
       3.ทำให้หมดเปลืองเวลาโดยไร้ประโยชน์ หากเทียบกับผู้ใหญ่ที่หมกมุ่นอยู่ในสื่อออนไลน์ การแชทผ่านทางวอทช์แอป ไลน์ การเข้าไปดูข่าวสารหรือการเข้าไปดูยูทิวบ์ ยังสามารถทำให้เสียเวลาเสียงานเสียการไปมาก ยิ่งไปกว่านั้นสักแค่ไหนสำหรับลูกซึ่งยังเป็นเด็กอยู่ในวัยที่ไม่สามารถควบคุมตัวเอง อารมณ์และความต้องการได้ จะยิ่งตกเป็นทาสของสื่อออนไลน์มากยิ่งไปกว่าผู้ใหญ่เสียอีก ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเข้ามาช่วยควบคุมลูกในเรื่องของเวลาในการเล่นสื่อออนไลน์อย่างจริงจัง เช่น กำหนดให้ใช้โทรศัพท์หรืออินเตอร์เน็ตได้หลังจากทำการบ้าน อ่านหนังสือทบทวนบทเรียนเรียบร้อยแล้ว หรือกำหนดจำนวนชั่วโมงที่จะให้ใช้ได้ จะช่วยให้เด็กไม่ติดกับมันมากเกินไปและทำให้เขามีเวลาทำกิจกรรมอย่างอื่นมากขึ้น
      
       4.ทำใหัละเลยกิจกรรมที่มีประโยชน์ การใช้เวลากับอินเทอร์เน็ต หรือสมาร์ทโฟนมากเกินไป ทำให้เด็กไม่ได้ทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ที่ควรจะทำตามวัย เช่น ออกกำลังกาย ทำงานบ้าน พูดคุยกับครอบครัว รวมถึงการทำงานเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือสังคม
       
       5.ลักลอบทำสิ่งผิดกฎหมาย มีเว็บไซต์มากมายที่เป็นช่องทางแห่งอบายมุขและการทำธุรกิจที่ผิดกฎหมาย เช่น การค้าประเวณี การขายยาเสพติด การพนันออนไลน์ ซึ่งหากลูกเข้าไปดูไปชมเว็บไซต์เหล่านี้ก็อาจถูกชักชวนให้เข้าไปข้องเกี่ยวกับสิ่งไม่ดีเหล่านี้ได้ ด้วยความที่เด็กๆ เป็นวัยที่อยากรู้ อยากเห็น อยากเป็น อยากลอง ก็อาจทำให้ถูกหลอกล่อได้ง่าย
      
       6.เป็นสื่อสกปรกที่ใช้ทำร้ายกันได้ไม่ยาก สังคมออนไลน์เป็นแหล่งของการหลอกลวงที่ใหญ่มาก เด็กๆ จะได้อ่านข้อความใส่ร้าย โจมตี หยาบคาย ลามก ตลอดจนการลงรูปภาพผ่านทางสื่อออนไลน์ที่อาจจะเป็นรูปภาพที่แต่งเติมตัดต่อเพื่อใช้ประจานหรือกลั่นแกล้งผู้หนึ่งผู้ใด ซึ่งจะทำให้ลูกซึมซับความก้าวร้าว รุนแรง ผ่านสื่อเหล่านี้ไปอย่างไม่รู้ตัว
      
       จริงๆ แล้วสื่อออนไลน์เป็นสื่อที่มีประโยชน์มากหากเรานำมาใช้ในการค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ หรือนำมาใช้ให้เกิดความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร แต่หากใช้มันเพื่อทำการไม่ดี หรือใช้อย่างหมกมุ่นมั่วสุมเกินกว่าความจำเป็น ก็อาจเป็นโทษได้อย่างมากมายเช่นกัน



ที่มา : http://www.manager.co.th

ผลกระทบจากละครโทรทัศน์ต่อสังคม

หน้าที่ของสื่อมวลชน
1.  สะท้อนแง่คิด
2.  ชี้นำสังคมและคนในสังคม
3.  ชวนคิด
4.  สืบทอด ต้องมีสิ่งให้ผู้รับสารสามารถสืบทอดต่อไปได้
5.  บันเทิง ให้ความสนุกสนาน ความบันเทิงแก่สังคม

สื่อมวลชนมีสองสถานะ
1.  สถานะองค์กรทางสังคม แนะนำคนดูอย่างไร ให้คนดูคิดอะไร เติบโตขึ้นมาอย่างไร
2.  องค์กรทางเศรษฐกิจ

ผลกระทบทางลบ
1.  พฤติกรรม แนวโน้มที่ทำให้คนในสังคมคิดและคล้อยตามไปโดยปริยาย
2.  ทัศนคติ สื่อมวลชนเป็นสื่อที่ทำให้คนดูบางกลุ่มเกิดความไม่พอใจและอาจจะขัดแย้งกับสื่อได้
3.  การมองโลก แล้วแต่คนแต่ละกลุ่มที่ดูสื่อและจะมองในแง่ลบหรือบวก
4.  การเสพติด และบทสนทนา เป็นการทำให้คนดูเสพติดสิ่งที่ผิดได้ และบทสนทนาของละครก็อาทำให้คนดูติดตามและทำในสิ่งที่ผิด บางประโยคอาจเป็นคำไม่สุภาพ
5.  ปัญหาเรื่องเพศ วัตถุนิยม และความรุนแรง ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าว ขึ้นอยู่กับพื้นนิสัยของผู้ชมด้วย เป็นปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นค่านิยมของสังคม แต่อาจทำให้เกิดปัญหาได้ถ้าคนดูดูละครด้วยความไม่มีสติ
6.  อบายมุข อาจเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ชมติดอบายมุข
7.  ค่านิยม และรูปแบบในการดำเนินชีวิต ซึ่งมีผลทั้งละครและโฆษณา ถ้าเด็กได้รับปลูกฝังคำนิยมที่ถูกต้อง ตัวละครก็จะไม่ส่งผลต่อเด็ก อาจทำให้คนดูทำตามสื่อ

กระแสละครโทรทัศน์ในปัจจุบัน
1.  มีหลายเรื่องหลายช่อง
2.  มีดาราในสังกัด
3.  ละครภาคค่ำมาฉายซ้ำในตอนกลางวัน

การชมละครโทรทัศน์
1.  ใช้เวลามากเกินไป เรื่องหนึ่งในแต่ละตอนยาวเกินไป
2.  มุ่งเน้นคะแนนนิยม มุ่งไปที่ rating มากเกินไป
3.  สร้างวัฒนธรรมจากละคร
4.  ใช้ดาราดึงคะแนนนิยม

ข้อดี: ถ้าดาราคนนั้นเข้ากับบท ละครก็จะออกมาดี ทำให้ผู้ชมมีอารมณ์คล้อยตามกับละคร
ข้อเสีย: ถ้าตัวละครไม่เข้ากับบทละคร ละครก็จะออกมาไม่ดี
1.  ต้องการสร้างบทสนทนา บทสนทนาของคนในสังคมมาจากละครเยอะ
2.  ผู้ชมใช้สินค้าตามตัวละคร สร้างกระแสการบริโภค
3.  สร้างความทะเยอทะยานและรสนิยม ผู้ชมต้องการเป็นอย่างในละคร ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย

การจัดการละครโทรทัศน์
1.  ละครเป็นสินค้าหลักของช่อง
2.  คนทำละครต้องพัฒนาอยู่ตลอดเวลาอยู่กับที่ไม่ได้ มีการใช้นวัตกรรมและเทคนิคมากขึ้น
3.  คะแนนนิยมหรือ rating ละครที่ไม่สามารถรักษา rating จะได้รับผลกระทบจากช่องที่สังกัด
4.  การจัดเวลา มีผลอย่างมาก ถ้าละครไปอยู่ในช่วงที่คนดูเยอะ rating จะดี สินค้าที่ดีซึ่งเป็นผู้ลงโฆษณาจะอยู่ในช่วงเวลาที่ดี
5.  งานโฆษณา ละครที่ดีก็จะมีสินค้าติดต่อเพื่อลงโฆษณา
6.  มีตัวดึง นักแสดงมีผลอย่างมากต่อ rating เพราะเป็นตัวดึงผู้ชม

อิทธิพลของละคร
ไม่ได้เกิดขึ้นโดยปริยาย ไม่ควรยกย่องอิทธิพลของสื่อมากเกินไป ด้านลบของอิทธิพลสื่อก็มี
1.  สาวก แฟนคลับ
2.  หลงรัก
3.  ใฝ่หารอคอย
4.  วัฒนธรรม ภาษา ทัศนคติ มีคำพูดบางประโยคที่ผู้ชมนำมาพูดตาม
5.  แหล่งข้อมูลในการสนทนาเพื่อความบันเทิง

พฤติกรรมของคนไทยที่มาจากละคร
1.  แนวคิด และคำพูด
2.  สร้างกระแสสังคม
3.  กำหนดมุมมอง โลกทัศน์
4.  เยาวชนและชนชันล่างได้รับอิทธิพลสูงกว่า
5.  รูปแบบในการดำเนินชีวิตของชนชั้นสูงและชั้นกลาง
6.  ล้มล้างทำเนียมนิยมในบางกรณี
7.  ความนิยมในการตั้งชื่อลูก

          การเป็นสื่อมวลชน มีทั้งหน้าที่ในการสะท้อนสังคม และต้องมีจรรยาบรรณในวิชาชีพของตน ในขณะเดียวกัน คนดูอยากให้คนทำละครทำละครออกมาอย่างไร เราก็ต้องแสดงให้คนทำละครเห็นถึงสิ่งที่เราอยากดูด้วย
          ความเป็นมืออาชีพ นอกจากจะเก่งจากมือสมัครเล่น คือการตระหนักในจรรยาบรรณในสาขาวิชาละคร ซึ่งจะต้องเตรียมเรื่องที่จะส่งสารถึงผู้ชม สุดท้ายคือ plot เรื่องคือสิ่งสำคัญในการละคร สื่อมวลชนควรยอมรับความคิดเห็น การชี้แนะของผู้รับสาร ไม่ควรบอกอะไรตรงไปตรงมาจนเกินไป ควรให้ผู้ชมได้คิดเองบ้าง
          องค์กรทางสังคมจะทำหน้าที่ขัดเกลาผู้คน และเป็นสถาบันด้านเศรษฐกิจ ทำให้ rating ดี จนมีโฆษณาเข้ามา ละครที่ rating ดีคือละครที่ไม่ทำให้เป็นปัญหาต่อผู้ชม และชี้แนะสังคม

ครอบครัวเป็นภูมิคุ้มกันในการรับชมสื่อของเยาวชน ว่าจะรับข่าวสารอย่างไร ถ้าเยาวชนได้รับการปลูกฝังที่ดีที่ถูกต้อง ค่านิยมจากสื่อจะไม่มีผลกับเยาวชนมากนัก


ที่มา : https://kmofca.wordpress.com

ผลกระทบจากสื่อออนไลน์กับเด็กและครอบครัว

ผลกระทบต่อบุคคล
ทางบวกสังคมเครือข่ายออนไลน์เป็นการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน สร้างมิตรภาพไร้พรมแดน
ทางลบเมื่อผู้คนเข้าไปใช้ บ่อยๆ นานๆ โลกอินเทอร์เน็ตสร้างโลกส่วนตัว มีการติดต่อสัมพันธ์กัน เปิดรับข้อมูลแบบเครือข่ายที่ไม่จบสิ้นทำให้ขาดการติดต่อกับบุคคลภายนอก อินเทอร์เน็ตแย่งชิงเวลา ทำให้การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลน้อยลง อาจเป็นเหตุให้เกิดโรคซึมเศร้า นอกจากนี้ยังพบว่าบางคนมีอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่ายๆ หากไม่สามารถเข้าระบบอินเทอร์เน็ตได้

ผลกระทบต่อครอบครัว
ทางบวกบางครอบครัวมีการติดต่อสื่อสารกับทางสังคมเครือข่ายออนไลน์ ระหว่างที่พ่อแม่ไปทำงาน ส่วนลูกไปโรงเรียนจะใช้ส่งข้อความถามข่าวความเคลื่อนไหวระหว่างวันของคนในครอบครัว
ทางลบการติดต่อสื่อสารทางสังคมเครือข่ายออนไลน์จะส่งผลเสียต่อเด็กในครอบครัว โดยที่ ลูกๆอาจกำลังเสี่ยงในการติดต่อกับผู้คนแปลกหน้า

ผลกระทบต่อสังคม
ทางบวกการติดต่อสื่อสารกันทางสังคมเครือข่ายออนไลน์ ทำให้คนมีความสามารถในการเข้ามามีบทบาทในสังคมมากขึ้น เพราะผู้คนสามารถที่จะสื่อสารกับทุกคนที่ต้องการ
ทางลบความเปลี่ยนแปลงของสังคมและการสื่อสารทำให้เกิดการหดตัวของมิติเรื่องเวลาและพื้นที่ ทำให้เวลาในการทำกิจกรรมสังคมของมนุษย์โลกย่นย่อลง

ผลกระทบต่อการเมือง จากความเคลื่อนไหวของการใช้อินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างโทรศัพท์มือถือ กลายเป็นสื่อในการสร้างพื้นที่สาธารณะทางการสื่อสาร และเสริมสร้างความเข้มแข็งในเชิงข้อมูลข่าวสารให้กับสังคมได้อย่างมาก โดยเฉพาะในแง่มุมที่แตกต่างจากสื่อกระแสหลัก เกิดเครือข่ายสื่อสังคมอันเป็นการสื่อสารรูปแบบใหม่ที่ส่งผลสะเทือนต่อการสื่อสารเดิมที่มีอยู่

ความสำคัญในการสร้างความรู้เท่าทันสื่อ เป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้บริโภคสื่อโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ในการเปิดรับเนื้อหาผ่านสื่อในเชิงวิเคราะห์วิพากษ์ การสร้างความรู้เท่าทันสื่อนี้โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากการเรียนรู้ของเด็กผ่านการชี้แนะของผู้ปกครอง และการเรียนรู้ในสถาบันการศึกษา รวมถึงการพัฒนาความคิดในเชิงวิเคราะห์วิพากษ์ของเด็กเองผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์และสื่อต่างๆ



ที่มา : http://www.familymediawatch.org